วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

อนุรักษ์เพลงฉ่อย

    เพลงฉ่อยเป็นเพลงพื้นบ้านของไทยที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งวัยรุ่นไทยในปัจจุบันได้หลงลืมของไทยๆกันไปหมดแล้ว มัวแต่ไปหลงของฝรั่งไปฟังเพลงเกาหลี แต่ก็ไม่ได้ว่าทำแบบนี้มันจะผิดที่ไม่หันมาฟังเพลงไทย เพราะบางคนอาจจะคิดว่า "เพลงไทยฟังแล้วจะหลับ" "เพลงไทยไม่สนุกเท่าเพลงเกาหลี" จนทำให้เราหลงลืมกับสิ่งเหล่านี้ไป จริงๆแล้วเพลงไทยพื้นบ้านไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด ถ้าเราตั้งใจฟังดีๆเราก็จะรู้ได้ว่าในตัวของบทเพลงก็จะมีเสน่ห์ที่น่าฟังน่าหลงไหลอยู่แล้ว รวมถึงเนื้อหาของเพลงด้วยก็ยิ่งน่าฟังขึ้นไปอีก ในปัจจุบันนี้ก็ต้องขอขอบคุณ "รายการ คุรพระช่วย" ที่นำสิ่งดีๆมาให้วัยรุ่นไทยยุคใหม่หันมาชมมาฟังเพลงไทยกันมากขึ้นกับช่วง "จำอวดหน้าม่าน" และด้วยการขับร้องของทั้งสามน้า "น้าโย่ง เชิญยิ้ม" "น้าพวง เชิญยิ้ม" และ "น้านง เชิญยิ้ม"


     ที่นำเสนอการร้องเลพงฉ่อยในสไตล์บ้านๆปนความตลก จนทำให้ผู้ชมที่ชมไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก เด็กโต หนุ่มสาว ผู้สูงอายุ ต่างพากันชื่นชอบและติดอกติดใจการแสดงของทั้งสามน้า ไม่ใช่เพียงแค่ฉ่อยเพื่อความสนุกสนานเพียงอย่างเดียวแต่ในเนื้อหาของเพลงฉ่อยในแต่ละครั้งก็มีการบอกถึงแง่คิดในแต่ละเรื่อง เพื่อให้ผู้ชมนั้นได้คิดตามไปด้วย
สุดท้ายนี้ก็อยากจะฝากกับทุกๆคนให้อนุรักษ์เพลงไทยพื้นบ้าน ของไทยๆที่มีอยู่คู่คนไทยมาช้านานเอาไว้ให้ลูกหลานของเราได้ชมได้ฟังกันต่อไป รับวัฒนธรรมของต่างประเทศแต่พองามอย่ารับมาจนไม่หลงเหลือความเป็นไทยอยู่เลย

ตัวอย่างของเพลงฉ่อย

การฉ่อยของ "พ่อหวังเต๊ะ - แม่ประยูร"


"ฉ่อย พ่อหวังเต๊ะ - แม่ประยูร 1/3"

"ฉ่อย พ่อหวังเต๊ะ - แม่ประยูร 2/3"

"ฉ่อย พ่อหวังเต๊ะ - แม่ประยูร 3/3"

การฉ่อยที่ทำเป็นเพลง

"เพลง เมียขี้หึง ของ ทศพล หิมพานต์ อัลบั้ม ทศพลเพลงไทย"

"เพลง เอาใจเมียขำขำ อัลบั้ม ทศพล โย่ง พวง นง โชว์ 2"

การฉ่อยของ "น้าโย่ง น้าพวง น้านง"

"จำอวดหน้าม่าน เรื่อง รถสองแถว"

"จำอวดหน้าม่าน เรื่อง ศึกชิงโสม"

"จำอวดหน้าม่าน เรื่อง ขอทาน"

บรรณานุกรม : http://www.youtube.com/watch?v=OLtLzKR761I
                     : http://www.youtube.com/watch?v=U9OG5NMkSvQ
                     : http://www.youtube.com/watch?v=R8mCO8urnRU
                    : http://www.youtube.com/watch?v=O9mEIVzJCp4

เพลงฉ่อยในปัจจุบัน

      ในขณะที่วัฒนธรรมไทย ใกล้จะสูญหายเข้าไปทุกที และเยาวชนรุ่นใหม่ก็เริ่มจะรู้จักกับวัฒนธรรมต่าง ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของไทยน้อยลง แต่ เพลงฉ่อย อีกหนึ่งวัฒนธรรมดี ๆ ของชาวไทย กลับถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง และกลายเป็นวัฒนธรรมที่กลุ่มวัยรุ่นไทยเริ่มรู้จักมากขึ้นในปัจจุบัน และส่วนหนึ่งที่ เพลงฉ่อย กลายเป็นกระแสให้คนไทยทุกเพศทุกวัยสนใจและชื่นชอบ คงหนีไม่พ้น ช่วง "จำอวดหน้าม่าน" ในรายการ "คุณพระช่วย" ทางช่องโมเดิร์นไนน์ทีวี ที่มี "น้าโย่ง น้าพวง และ น้านง เชิญยิ้ม" มาสร้างสีสันและความเฮฮาให้กับเพลงฉ่อย จนหลายต่อหลายคนถึงกับติดใจ

          โดยช่วงจำอวดหน้าม่าน ในรายการคุณพระช่วย นั้นจะมี น้าโย่ง เชิญยิ้ม น้าพวง เชิญยิ้ม และ น้านง เชิญยิ้ม ออกมาโชว์ฝืมือการแสดงในแบบไทย ๆ ร้องรำเพลงฉ่อย ชนิดที่สะกดคนดูได้อยู่หมัด ซึ่งในแต่ละสัปดาห์ หัวข้อเพลงฉ่อยจะถูกเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่น เพลงฉ่อย เรื่อง "ทักทาย"ที่น้าทั้ง 3 คน ร้องรำให้ออกมาได้ ตลก สนุกสนาน เป็นการบอกถึงการทักทายของคนไทยตามประสาความตลกของทั้งสามน้า รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมกันส่งหัวข้อที่อยากให้แสดงเพลงฉ่อยไปในรายการด้วย จนทำให้ช่วงดังกล่าวของรายการ กลายเป็นช่วงที่มีคนตั้งหน้าตั้งตารอชมกันทั่วบ้านทั่วเมือง




          วัฒนธรรมที่ดี ๆ แบบนี้ พวกเราคนไทยจึงควรช่วยกันสนับสนุนและส่งเสริมวัฒนธรรมไทยให้คงไว้ อยู่คู่กับประเทศไทย เหมือนอย่างที่บรรพบุรุษของเรารักษามานาน เพียงแค่เริ่มทำความรู้จักกับวัฒนธรรมไทยให้มากขึ้น แล้วคุณจะพบว่าวัฒนธรรมไทย ๆ ทรงคุณค่า และ น่าอนุรักษ์เอาไว้ให้อยู่คู่กับคนไทยไปจนรุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อไป



บรรณานุกรม : http://hilight.kapook.com/view/50950
               : http://www.youtube.com/watch?v=MS5OQa3VQAw  คลิปวิดีโอ

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

การเล่นเพลงฉ่อย

การเล่นเพลงฉ่อย  จะมีการปรบมือให้จังหวะ  เนื้อเพลงนั้นคล้ายกับ  เพลงพวงมาลัยและเพลงนี้ก็จะต้องจบลงด้วยสระไอทุกคำกลอนเช่นกัน  แต่เมื่อจะถึงบทเกี้ยว  ลักษณะเพลงจะคล้ายเพลงเรือลูกคู่นอกจากจะคอยปรบมือให้จังหวะแล้ว  ก็จะต้องรับตอนจบว่า
          “ชา  เอ๋  ฉา  ชา  หน่อย  แม่  เอย”
     สำหรับแม่เพลงก่อนจะขึ้นบทใหม่ทุกครั้งต้องขึ้นว่า
          “โอง  โงง  โง  โฮะ  ละ  โอ่  โง๋ง  โง๋ย”   ในบทหนึ่งจะว่ายาวสักเท่าไรก็ได้


วิธีเล่นเพลงฉ่อย     ผู้แสดง  แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง  มีพ่อเพลงและแม่เพลง  เริ่มด้วยการไหว้ครู  ใช้กลอนเพลงอย่างโคราช  การร้องจะมีต้นเสียงและลูกคู่ร้องรับ   ดนตรีใช้การตบมือเป็นจังหวะ
การเล่นเพลงฉ่อยนั้นได้แยกแยะวิธีการเล่นออกไปอีกหลายอย่างโดยคิดผูกเป็นเรื่องสมมติขึ้นเพี่อหาทางใช้วาทศิลป์ได้แปลก ๆ เช่น  ชุดสู่ขอ  ลักหาพาหนี  ตีหมากผัว  และเชิงชู้เป็นต้น

ชุดสู่ขอ  จะต้องมีพ่อเพลงและแม่เพลงหลายคน  อย่างน้อยก็ฝ่ายละ  3 คือ  พ่อแม่  ของทั้งสองฝ่ายและตัวหนุ่มสาว  แสดงถึงการไปว่ากล่าวสู่ขอตามประเพณี  ซึ่งต่างก็จะใช้คารมโต้เถียงงอนกันไปเรื่อย  และมักสิ้นสุดลงด้วยความไม่สำเร็จ  อันเป็นต้นเหตุให้เกิดการลักหาพาหนี

ชุดลักหาพาหนี  เป็นการแสดงของชายหญิงเพียงฝ่ายละ 1 ใช้ศิลปะการร้องเพลงในการดำเนินเรื่องอย่างน่าฟัง  เช่น  ตอนจะลอบออกจากบ้าน  เข้าป่าชมดง  ซึ่งมีวิธีร้องเป็นทำนองเทศน์แหล่มหาพนบ้าง  ทำนองพุทธโฆษา  โล้สำเภาบ้าง

ชุดตีหมากผัว  นั้นก็คือการแสดงหึงหวงระหว่างสองหญิง  โดยมีพ่อเพลงคนหนึ่งแม่เพลงสองคน  สมมติว่าผู้หญิงเป็นคู่รักเก่าหรือภริยาเก่าไปพบชายคู่รักหรือสามีกำลังประโลมหญิงอื่นก็เกิดการหึงหวงทะเลาะวิวาทกัน

ชุดชิงชู้  มักเริ่มต้นด้วยชายหนึ่งไปพบหญิงผู้เป็นภรรยาผู้อื่นกล่าวเกี้ยวพาราสีแทะโลมจนหญิงตกลงใจตามไป  สามีเก่าตามไปพบเข้าก็เกิดการว่ากล่าวกันใหญ่โต  ซึ่งอาจจบเพียงนี้หรืออาจต่อไปถึงขั้นฟ้องร้องยังโรงศาล  โดยมีพ่อเพลงเป็นตัวตุลาการ อีกผู้หนึ่งมักเป็นนายอำเภอ   ดังนั้น  จากการได้แนวความคิดจากท่านผู้รู้ได้บันทึกไว้รวมทั้งจากการสังเกตจากโดยทั่ว ๆไป  เราอาจจะกล่าวได้ว่า  “เพลงฉ่อย”  เป็นการละเล่นพื้นเมือง อย่างหนึ่งของชายหญิงอันแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านพื้นเมืองนั้น ๆ ร้องโต้ตอบกัน  แก้กันในความหมายต่าง ๆ ส่วนมากเป็นการประคารม คำร้องเป็นลักษณะกลอนอย่างปรบไก่  แรกเริ่มฝ่ายชายเกริ่นขึ้นต้นด้วยเสียงเอื้อน
     “โอง-โงง-โงย-ฉะโอง-โงง-โงย”  แล้วชักชวนให้ผู้หญิงโต้ตอบกัน

การแต่งกาย     ผู้หญิงนุ่งโจงกระเบนตามแต่ถนัด ใส่เสื้อรัดรูปมีสีสันสะดุดตา ทัดดอกไม้  ฝ่ายผู้ชายนุ่งโจงกระเบน  เสื้อคอกลมสีต่าง ๆ

โอกาสที่แสดง     มักนิยมเล่นในงานเทศกาล หรืองานรื่นเริงของหมู่บ้าน ในวงการมหรสพต่าง ๆเช่น งานปีใหม่  ทอดกฐิน  นำมาเป็นรายการแสดงก็มี



บรรณานุกรม : http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=378

ประวัติความเป็นมา

"เพลงฉ่อย" มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า เพลงไอ้เป๋ เนื่องจากพ่อเพลงฉ่อย ยุคแรกชื่อ ตาเป๋ มี ยายมา เป็นภรรยา เริ่มแรกเพลงฉ่อย หรือ เพลงเป๋ เป็นที่นิยมในแถบ จังหวัดฉะเชิงเทรา และ จังหวัดใกล้เคียง ประมาณก่อนยุค พ.ศ. 2437 เป็นต้นมา ส่วนครูเพลงฉ่อย ยุคแรกเริ่มก็มี ครูเปลี่ยน - ครูเป๋ - ครูฉิม - ครูศรี - ครูบุญมา - ครูบุญมี ครูเพลงเหล่านี้มีแค่ชื่อ และ ตำนานส่วนประวัติไม่มีเลย เพลงฉ่อย นี้ปรับปรุงและดัดแปลงมาจาก เพลงโคราช - เพลงเรือ และเพลงปรบไก่เป็นต้น ก็สาเหตุเนื่องจาก เวลาปรบมือเป็นจังหวะเพลงปรบไก่ ร้องบทไหว้ครูและเกริ่นอย่างเพลงโคราช ใช้กลอนก็ใช้คล้ายกับเพลงเรือ แต่อย่างไรเพลงฉ่อย ก็น่าจะอยู่ในยุคต้นสมัยรัชกาลที่ 5

โคลงของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ..มีว่าดังนี้..
บางคนเล่นเรื่องร้องขับขาน
แพนขลุ่ยซอประสานแอ่วชู้
อย่างต่ำขับขอทานโทนฉิ่ง กรับนา
ริเล่นตามตนรู้ดอกสร้อยเพลงสวรรค์
ปรบไก่ครึ่งท่อนทั้งสักวา
ร้องยักลำนานาปลอบพ้อ
แก้โต้ตอบไปมาไม่สุด สิ้นเอย
ออดแอดอ้อยอิ่งจ้อจากแล้วพายตาม
นอกจากนี้แล้วเพลงฉ่อย ยังมีชื่ออื่นอีก "ฝ่ายเหนือ" อาจหมายถึงจังหวัดทางล่างเช่น จังหวัดอุทัยธานี - จังหวัดนครสวรรค์ - จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น


ส่วนคำว่า "เพลงตะขาบ" (ต้นฉบับเดิมใช้ ข.ขวด) คนเพลงเก่า ๆ เรียกเพลง..วง.. เพราะของเดิมยืนเป็นวง เล่นกับลานดิน เนื่องจากสมัยนั้นไม่มีเวที ดั่งกับปัจจุบันนี้ ส่วนบ้างคนก็เรียกว่า "เพลงฉ่า" เพราะเวลารับเพลง รับว่า เอ่ชา เอ๊ช้า ชาฉ่าชา หนอยแม่ เลยเรียกติดกัน จนปัจุบันคนก็ยังเอามาร้อง เล่นกันส่วนมากเป็นท่อนนี้ ชาวโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ก็เรียกศัพย์บัญญัติแปลก ๆ พิสดารอีกว่า "เพลงทอดมัน"
เพลงฉ่อย เป็นเพลงพื้นเมืองไทยหรือการละเล่นในเทศกาลรื่นเริงของไทย ซึ่งมีการร้องมานานในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดพิษณุโลก, จังหวัดอุทัยธานี, จังหวัดนครสวรรค์, จังหวัดอ่างทอง, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น แต่ไม่มีข้อมูลระบุถิ่นกำเนิด
เป็นการร้องที่ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ มีแต่การปรบมือให้จังหวะ แต่ภายหลังก็มีการนำ ‘กรับ’ และอีกบางเครื่องดนตรีมาร่วมตีประกอบ การแต่งตัว ชาย – หญิง นุ่งผ้าโจงกระเบน ชาย ใส่เสื้อคอไทย มีผ้าขาวม้าเคียนพุง หญิงใส่เสื้อสบายๆ มีผ้าพาดเฉียงไหล่
เพลงลูกทุ่งในอดีตเพลงหนึ่ง ชื่อเพลง ‘กับข้าวเพชฌฆาต’ นำเพลงฉ่อยมาปรับแต่งเป็นเพลงลูกทุ่ง มี ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ ปี 2539 สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน - อีแซว) เป็นผู้ขับร้องเพลงนี้



http://www.youtube.com/watch?v=uAZ3uaiNSZc คลปวิดีโอ